Doctor of Philosophy Program in Visual Arts, Art of Design and Cultural Management

สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Visual Arts, Art of Design and Cultural Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Visual Arts, Art of Design and Cultural Management)
อักษรย่อภาษาไทย : ปร.ด. (ทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Visual Arts, Art of Design and Cultural Management)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรมหรือสาขาวิชาทัศนศิลป์หรือการออกแบบ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปหรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ หรือมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น อย่างน้อย 2 บทความ ไม่เกิน 3 ปี ย้อนหลัง ทั้งนี้ ต้องผ่านการประเมินของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม

แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรมหรือ สาขาวิชาทัศนศิลป์หรือการออกแบบ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ หลักสูตรปริญญาเอก
  • ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษบางรายวิชา)
  • การรับเข้าศึกษา รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
  • ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาเห็นชอบหลักสูตร

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 ปรับปรุงจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 6/2563 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563
สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งพิเศษที่ 2/2563 วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 ในปีการศึกษา 2566

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ประกอบอาชีพเป็นนักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการวัฒนธรรม นักวิจัยสร้างสรรค์และนักออกแบบในวิชาชีพสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ และนักพัฒนาระดับผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  • ศ.เกียรติคุณ พงศ์เดช ไชยคุตร
  • ศ.ภรดี พันธุภากร
  • ผศ.ดร.ภูวษา เรืองชีวิน

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

“บูรณาการความรู้ สหวิทยาการทางศาสตร์และศิลป์ ด้วยคุณธรรมจริยธรรมอย่างลึกซึ้งเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านทัศนศิลป์ การออกแบบและวัฒนธรรม บนฐานความคิดแบบไทยและสากล อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งมุ่งสร้าง ทัศนศิลปินและนักออกแบบทางวิชาชีพ นักวิจัย นักสร้างสรรค์วัฒนธรรม นักวิชาการเพื่อเป็นผู้นำทางความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ทักษะทางปัญญา และทักษะพิสัย ในการพัฒนาและสร้างสรรค์งานให้มีคุณค่า มูลค่า และมีมาตรฐานในระดับสูงอย่างมีเหตุผล”

วัตถุประสงค์

  1. มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและมีจิตสาธารณะ
  2. มีความรู้ทางวิชาการในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม โดยสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศสู่สังคมอาเซียนและสังคมโลกต่อไป
  3. สามารถบูรณาการแนวคิด ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้ และประเมินความรู้เพื่อการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
  4. เป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเข้าสู่การทำงานเป็นนักวิจัยอาจารย์ นักวิชาการด้านศิลปะ นักออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน  
  5. มีความเชี่ยวชาญสามารถวิเคราะห์ วิจัยอย่างลุ่มลึก บูรณาการองค์ความรู้จากศิลปกรรมการออกแบบ และวัฒนธรรมในการเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆ ในเชิงสหวิทยาการได้
  6. มีทักษะปฏิบัติทางทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรมในระดับชาติและระดับสากล

แผนของหลักสูตร
หลักสูตร แบ่งเป็น 2 แบบ

แบบ 1.1 ทำดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1 เรียนรายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1
หมวดวิชาบังคับ
– วิชาสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1-3 ไม่นับหน่วยกิต
– ดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต

แบบ 2.1
หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
– วิชาสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1-3 ไม่นับหน่วยกิต
– ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต

รายวิชา

แบบ 1.1 ทำดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว

หมวดวิชาบังคับ
รายวิชาเรียนก่อนที่จะเสนอดุษฎีนิพนธ์ ไม่นับหน่วยกิต

63470164 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 14   3 (2-2-5)
             Seminar in the Doctoral Dissertation 1

63470264 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 2   3 (2-2-5)
              Seminar in the Doctoral Dissertation 2

63480164 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 3   3 (2-2-5)
              Seminar in the Doctoral Dissertation 3

ดุษฎีนิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต

63499864 ดุษฎีนิพนธ์ 48    (0-0-144)
              Doctoral Dissertation

แบบ 2.1 เรียนรายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์
หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต

63471164 วิธีวิจัยทางวัฒนธรรม ศิลปกรรมการออกแบบ  3 (3-0-6)
             เพื่อการสร้างสรรค์ขั้นสูง
             Research Methodology in Culture,
             Fine Arts and Design for Advanced Creation

63471264 สัมมนาปฏิบัติการด้านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์  3 (2-2-5)
             และการบูรณภาพแนวคิดพหุศิลปกรรม  
             Operating Seminar on Creative Cultural
             Management and Integration of Multiple Arts 

63471364 สื่อและเทคโนโลยีทางนวัตกรรมวัฒนธรรมศิลปกรรม  3 (3-0-6)
             และการออกแบบ 
             Media and Technology for Innovative Culture,
             Fine Arts and Design

63471464 สัมมนาสหวิทยาการวิจัยด้านวัฒนธรรมศิลปกรรม  3 (2-2-5)
และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ 
             Seminar on Interdisciplinary Research with Culture,
             Fine Arts and Creative

สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ ไม่นับหน่วยกิต

เมื่อเรียนรายวิชาบังคับครบถ้วนแล้ว ก่อนที่จะเสนอดุษฎีนิพนธ์ต้องเรียนรายวิชาต่อไปนี้ เป็นวิชาไม่นับหน่วยกิต 

63470164 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 1   3 (2-2-5)
             Seminar in the Doctoral Dissertation 1

63470264 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 2   3 (2-2-5)
              Seminar in the Doctoral Dissertation 2

63480164 สัมมนาดุษฎีนิพนธ์ 3   3 (2-2-5)
             Seminar in the Doctoral Dissertation

ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต

63499964 ดุษฎีนิพนธ์ 36   (0-0-108)
              Doctoral Dissertation

ศ. เกียรติคุณ พงศ์เดช ไชยคุตร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ศ.ภรดี พันธุภากร
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ดร.ภูวษา เรืองชีวิน
อาจารย์ประจำหลักสูตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

อีเมล
nikorn@go.buu.ac.th

หมายเลขโทรศัพท์
 0 3810 2504
08 1575 6395

ผู้ดูแล
 คุณนิกร กาเจริญ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

ค่าใช้จ่ายต่อปีการศึกษา (โดยประมาณ)
เหมาจ่าย 3 ปี
(6 เทอม / เทอมละ 80,000)
480,000 บาท บาท